กระดานแสดงความคิดเห็น
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-15 (กระดานแสดงความคิดเห็น)
หลายครั้งที่ผู้เขียนเริ่มสอนเขียนโปรแกรมให้นักเรียนกลุ่มใหม่ หรือสอนเขียนภาษาใหม่ให้นักศึกษากลุ่มเดิม มักเริ่มต้นด้วยประโยคติดปากว่า "แนวการเขียนโปรแกรมในทุกภาษานั้นคล้ายกัน เข้าใจภาษาหนึ่งย่อมเข้าใจภาษาอื่นไปด้วย เรียนภาษาเดียวแต่เหมือนเรียนแนวคิดพื้นฐานในทุกภาษา" สิ่งที่แตกต่างกันในแต่ละภาษา คือ โครงสร้างภาษา คำสั่ง ฟังก์ชัน และวิธีการใช้งานตัวแปลภาษา แต่สิ่งที่เหมือนกันของทุกภาษา คือ มีกระบวนการพัฒนาโปรแกรม (Development Process) แนวคิดการโปรแกรมโครงสร้าง (Structure Programming) การออกแบบโปรแกรม (Program Design) ความเข้าใจในพื้นฐานการเขียนโปรแกรม เช่น ใช้ฟังก์ชัน สร้างฟังก์ชัน เครื่องมือ โมดูล ตัวแปร รูปแบบข้อมูล เป็นต้น
เมื่อถูกถามว่าจะเริ่มต้นเขียนโปรแกรมอย่างไร เลือกภาษาใดดี เพื่อนำไปประกอบอาชีพ ในความเห็นของผู้เขียนมีขั้นตอน 4 ขั้น ดังนี้ 1) หาข้อมูลเกี่ยวกับภาษาที่สนใจ โดยเฉพาะจุดเด่น จุดด้อย และความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือของโปรแกรมเมอร์ (Programmer) ที่สัมพันธ์กับความรู้เดิมของผู้ศึกษา ซึ่งแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด คือ หนังสือที่จำหน่ายตามร้านหนังสือ เพราะจะได้เห็นถึงแนวโน้มเกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ภาษาใดมีนักเขียนแต่งหนังสือออกมาขายมากย่อมเชื่อได้ว่ากำลังเป็นที่นิยม แต่ภาษาใดหาหนังสืออ่านไม่ได้แล้วก็เป็นได้ว่ากำลังจะเป็นภาษาถูกเลิกใช้ 2) จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับตัวแปลภาษา และเลือกซื้อตัวแปลภาษาในรุ่นที่เหมาะสมกับเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง และสรรหาเครื่องมือประกอบการพัฒนาระบบที่จำเป็น เช่น อิดิเตอร์ (Editor) ระบบฐานข้อมูล (Database) เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับทดสอบโปรแกรม (Computer for Testing) และเครื่องมือจัดการภาพกราฟฟิก 3) วางแผนการศึกษาด้วยตนเอง และแบ่งเวลาให้กับการเรียนรู้ตามแผนการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้น ความเข้าใจในการเขียนโปรแกรมเกิดขึ้นจากการทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง (Learning by Doing) มักเป็นการลองผิดลองถูกหาวิธีการที่ดีที่สุด เพราะการเขียนโปรแกรมไม่มีกฎตายตัว ความต้องการอย่างหนึ่งสามารถใช้วิธีการแก้ไปัญหาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับโปรแกรมเมอร์จะเป็นผู้วางโปรแกรมให้ทำงานอย่างไร 4) สร้างระบบงาน หรือโปรเจค (Project) ที่แสดงผลการเรียนรู้ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดจากความคิดรวบยอด สร้างชิ้นงานที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ และเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยมีการเก็บข้อเสนอแนะ หรือผลการใช้งาน นำมาพัฒนาแก้ไขจุดบกพร่อง และนำประสบการณ์ที่ได้ไปพัฒนางานชิ้นใหม่ที่จะมีขึ้นในอนาคต
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) และคำว่าวิทยาทานเป็นสิ่งที่สอดคล้องกัน ถ้านักพัฒนา หรือนักศึกษาเรียนรู้ที่จะนำผลการเรียนรู้ไปสร้างงาน หาข้อมูลเพิ่มเติม แลกเปลี่ยนกับผู้เชี่ยวชาญ เกิดกระบวนการเรียนรู้ เมื่อนำความรู้ไปพัฒนาจนผลงานเสร็จสมบูรณ์ก็นำไปเผยแพร่ผ่านเว็บบล็อก หรือเว็บไซต์เครือข่ายสังคม และนำข้อเสนอแนะ (Feedback) ที่ได้รับกลับมาปรับปรุงโปรแกรม และเผยแพร่ผลงานรุ่นปรับปรุง ก็จะกลายเป็นผลงานที่มีคุณค่าของสังคมเป็นที่ประจักษ์
จากคุณ :
บุรินทร์
.
06:19am (4/10/08)
บ
ทความเกี่ยวกับไอทีในชีวิตประจำวัน (Information Technology in Life) ถูกเขียนลงในหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เริ่มเขียนปลายปีพ.ศ. 2549 จนถึงมิถุนายน พ.ศ.2560 รวมได้ 611 บทความมีโฮมเพจอยู่ที่ http://www.thaiall.com/itinlife และ http://www.thaiall.com/opinion เพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันเรื่องราวที่ได้พบ ได้อ่าน ได้ปฏิบัติ แล้วนำมาเรียบเรียงแบ่งปันแก่เพื่อนชาวไทย และส่งให้กองบรรณาธิการนำไปตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง
O
pinion
แปลว่า ความคิดเห็น วาทะ ความเชื่อ ที่สามารถสะท้อนออกมาให้อยู่ในรูปของวรรณกรรม หรืองานเขียน ที่เรื่องราวจะถูกร้อยเรียงเป็นตัวอักษร ไล่เรียงตามลำดับให้ได้รู้และเข้าใจความคิดความเห็น ที่ไม่เลือนหายไปตามเวลาเหมือนความทรงจำ
version 1.3 (15 ตุลาคม 2566)
Thaiall.com
Truehits.net
ใช้เวลาโหลดเว็บเพจ: 183 มิลลิวินาที สูง: 959 จุด กว้าง: 1264 จุด
"ไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะไม่มีทางสำเร็จในวันพรุ่ง" โดย โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ
หน้าหลัก
Lampang.net
Thaiabc.com
Thainame.net
เปิดรับผู้สนับสนุนเพิ่ม
OS
MIS
SWOT
LINUX
Teach Pro.
SPSS
Business
Research
Online Quiz
Data Structure
จรรยาบรรณ
อันดับสถาบัน
ปฏิทินวันหยุด
วิทยาการคำนวณ
การจัดการความรู้
เกี่ยวกับเรา
สนับสนุนเรา
Products
FB : @Thaiall
Blog : เทคโนโลยี
Thaiall.com
Truehits.net